เห็ดหลินจือ สรรพคุณ ต้านมะเร็งและรักษาสารพัดโรค

เห็ดหลินจือ จัดได้ว่าเป็นยอดแห่งสมุนไพรจากแผ่นดินจีน ความหวังของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ต้านมะเร็ง เสริมภูมิต้านทาน เสริมการรักษา-ลดความทรมานจากเคมีบำบัด ขับพิษ บำรุงร่างกาย ปราศจากผลข้างเคียง เห็ดหลินจือ หากจะพูดถึงโรคมะเร็งแล้ว มะเร็งถือว่าเป็นโรคร้ายอันดับต้น ๆ และเป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดในแต่ละปี เพราะโรคมะเร็งนั้น เมื่อเป็นแล้วก็ยากจะรักษา หากปล่อยให้ลุกลามก็ทำให้เสียชีวิตได้ภายในเวลาเพียงไม่นาน และถึงแม้ว่าจะพอมีวิธีรักษาด้วยการผ่าตัดหรือการใช้รังสีอยู่บ้าง ผู้ป่วยก็ล้วนต้องเผชิญกับผลข้างเคียงหลายอย่าง เช่น ผมร่วง คลื่นไส้ ท้องร่วง หรือเกิดรอยฟกช้ำที่ผิวหนังได้ง่ายกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกทรมานกับการต่อสู้มะเร็งร้ายอยู่ไม่น้อย กว่าที่เซลล์มะเร็งจะถูกกำจัดหายไป

เห็ดหลินจือ นอกเหนือจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือคีโม แล้ว จะมีสักกี่คนที่รู้บ้างว่า มีเห็ดชนิดหนึ่งที่ช่วยทำลายเซลล์มะเร็ง และลดผลข้างเคียงจากการทำคีโมได้ (กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งแล้ว) รวมถึงช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็ง สำหรับคนที่ยังไม่เป็นมะเร็งอย่างได้ผล ซึ่งเห็ดที่กำลังจะพูดถึงนี้ คือเห็ดที่ได้รับฉายาว่าเป็นยาอายุวัฒนะอย่าง เห็ดหลินจือ นั่นเอง เห็ดหลินจือ ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ganoderma lucidum เป็นยาจีนชั้นสูง ที่ใช้กันมานานกว่า 2000 ปี ตั้งแต่ยุคสมัยฮั่นของจีน มีชื่อเรียกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น หลิงจือ เห็ดหมื่นปี เห็ดจวักงู เห็ดอมตะ เห็ดศักดิ์สิทธิ์ และยังถูกเรียกว่าราชาสมุนไพรเนื่องจากสรรพคุณทางยาในการบำรุงร่างกาย ขับพิษ ป้องกันและรักษาโรคที่ดีเลิศกว่าสมุนไพรชนิดอื่น เห็ดหลินจือนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนและมีหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่นิยมนำมาบริโภคเพื่อบำรุงร่างกายและรักษาโรคมากที่สุดก็คือ เห็ดหลินจือแดง เนื่องจากมีสารที่เป็นประโยชน์มากที่สุด ด้วยสรรพคุณทางยา เห็ดหลินจือ ที่มากมายของเห็ดหลินจือ ทำให้มันถูกนำมาใช้มาเป็นหนึ่งในสมุนไพรต้านมะเร็ง โดยทางการแพทย์ทั้งในไทยและต่างประเทศ ได้มีการศึกษาวิจัยแล้วว่า เห็ดหลินจือนั้นมีคุณสมบัติในการต่อต้านโรคมะเร็งที่ได้ผลดีเยี่ยม

วิธีการป้องกันโรคกรดไหลย้อนที่ทุกคนควรทราบ

สำหรับโรคกรดไหลย้อนนี้เป็นโรคที่ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลงได้มากที่เดียว ซึ่งผู้ที่ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนนี้จะมีอาการคลื่นไส้ จุกเสียดแน่นบริเวณหน้าอก มีอาการเจ็บบริเวณลำคอ ไอแบบเรื้อรัง หากเป็นมากจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ และเมื่อตื่นนอนจะมีอาการไอ แสบคอ มีเสมหะ กลืนอาหารได้ลำบาก มีอาการระคายเคืองคออยู่ตลอดเวลา หากมีอาการเป็นระยะเวลานานจะส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง ซึ่งโรคกรดไหลย้อนนี้เราสามารถที่จะป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การนอน รับยาจากแพทย์ และหากมีอาการรุนแรงมากแพทย์อาจวินิจฉัยให้เข้ารับการผ่าตัดได้

วิธีการป้องกันโรคกรดไหลย้อน

สำหรับวิธีการป้องกันและรักษาโรคกรดไหลย้อนที่ดีที่สุดนั้นก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน นอน และนิสัยส่วนตัวของตนเอง ซึ่งหากไม่เปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวนั้น อาจจะต้องได้รับการรักษาแบบให้ยา หรือหากมีอาการรุนแรงก็อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดในที่สุด ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้หายขาดของโรคนี้ และทำให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

พฤติกรรมการกิน

สำหรับคนที่ต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินเพื่อป้องกันโรคกรดไหลย้อนนี้ก็ต้องหลีกเลี่ยงอาหารจำพวก เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ ลดอาหารมัน ของทอด ของหวาน

เปลี่ยนนิสัยส่วนตัว

หากต้องการหลีกหนีจากอาการกรดไหลย้อนแล้วล่ะก็ ควรที่จะหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มากเกินไปของแต่ละมื้อ ควรทานให้พอดีไม่อึดอัดจนเกินไป เพื่อที่จะให้กระเพาะอาหารสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ก็ควรที่จะงดเว้นสิ่งที่จะทำให้เกิดความเคลียดที่มากเกินไป งดสูบบุหรี่ เพราะทั้งสองอย่างนี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการหลั่งของกรดที่มากยิ่งขึ้น และเสื้อผ้าที่สวมใส่ก็คือที่จะมีขนาดที่พอเหมาะไม่คับจนเกินไปด้วย

เปลี่ยนนิสัยในการนอน

ควรนอนหลังจากที่ทานอาหารมื้อสุดท้ายเสร็จแล้วไม่ต่ำกว่า 3-4 ชั่วโมง ส่วนวิธีในการนอนนั้นไม่ควรยกศีรษะให้สูงด้วยหมอน เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารมากยิ่งขึ้น แต่ควรที่จะหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นจากเดิมประมาณ 5-9 นิ้วจากพื้นราบแทน เริ่มจากน้อยๆแล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละนิดในวันต่อๆไป โดยอาจใช้วัสดุรองขาเตียง เช่น ไม้ หรือผ้าหนาๆ

ด้วยการเปลี่ยนพฤติของตนเองจากวิธีที่กล่าวมานี้ จะทำให้โรคกรดไหลย้อนที่เป็นอยู่มีอาการที่ดีขึ้น และสามารถทำให้หายจากโรคนี้ได้เลย โดยที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งยาทานหรือการผ่าตัดแต่อย่างใดหากมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอด ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยเอง